แนะนำตัวเอง

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนะนำโรงเรียนบ้านนาฮำ

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนบ้านนาฮำ

โรงเรียนบ้านนาฮำตั้งอยู่บ้านนาฮำพัฒนา หมู่ที่17 ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่  จังหวัดหนองคาย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2503 เดิมใช้ศาลาวัดศรีอุดมพรเป็นสถานที่เรียน จัดตั้งด้วยเงินงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ธิการ มีนักเรียนจำนวน 60 คน และทำการสอนตั้งแต่ ป.1 – ป.4
มีนายคำเปลื้อง นุราช เป็นครูใหญ่
วิสัยทัศน์
            เป็นสถานศึกษาที่เน้นการศึกษาให้เป็นเลิศ ประเสริฐทางด้านคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี ชุมชนร่วมประสาน บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ
1)           ดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาให้ได้มาตรฐาน
2)           สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
3)           ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรมจริยธรรม รู้จักตนเอง มีทัศนคติและกระบวนการคิดวิเคราะห์
ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ
4)           ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
เขตบริการของโรงเรียนบ้านนาฮำ
      บ้านนาฮำใหม่       ต.เฝ้าไร่   อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านนาฮำเก่า        ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านพรมงคล       ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านวังชมพู         ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านนาฮำพัฒนา    ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านทรัพย์เจริญ    ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านเกษตรเจริญ    ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านเจริญศรี        ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
     
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร
     
โรงเรียนมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรเพิ่มเติม

ตัวชี้วัด
1.            โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา
2.            โรงเรียนมีหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบ
3.            โรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่น
4.            หลักสูตรมีองค์ประกอบของหลักสูตรครบถ้วน (ส่วนนำ ประกอบด้วย ความนำ, วิสัยทัศน์โรงเรียน, สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน, คุณลักษณะอันพึงประสงค์, โครงสร้างหลักสูตร, คำอธิบายรายวิชา, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, เกณฑ์การจบการศึกษา)
5.            หลักสูตรสถานศึกษาเกิดจากความร่วมมือด้านการจัดทำแผนพัฒนาของครู ผู้ปกครอง นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง
6.            หลักสูตรสถานศึกษามีการนำและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมในการจัดการศึกษา
7.            ครูสามารถจัดทำหลักสูตรตามกลุ่มสาระที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา โดยเน้นกระบวนการคิด การแก้ปัญหา
8.            ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นทั้งความรู้ กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
9.            ครูนำสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนสู่มาตรฐานการศึกษา
      เป้าประสงค์
     โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีภูมิทัศน์งามเด่นเป็นที่ประทับใจ
       ตัวชี้วัด
1. โรงเรียนมีการสร้าง พัฒนาและปรับปรุงรั้วโรงเรียน
2. โรงเรียนมีการสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในโรงเรียน
3. โรงเรียนมีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน
4. โรงเรียนมีการสร้างโรงอาหารที่ได้มาตรฐาน
5. โรงเรียนมีการสร้าง พัฒนาและปรับปรุงสนามเด็กเล่น
6. โรงเรียนมีการสร้าง พัฒนาและปรับปรุงห้องน้ำห้องส้วม
7. โรงเรียนมีโรงยิมส์
8. โรงเรียนมีการสร้างอาคารเรียน
9. โรงเรียนมีการสร้างอาคารประกอบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนักเรียนทั้งระบบ
      เป้าประสงค์
     ผู้เรียนมีความรู้ที่จำเป็นตามหลักสูตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนักเรียนทั้งระบบ
      ตัวชี้วัด
     นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด และมีผลสัมฤทธิ์  ทางการเรียนสูงขึ้นทุกปีการศึกษา
     นักเรียนมีวินัย ความรับผิดชอบและปฏิบัติตนตามหลักธรรม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 95
     นักเรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95
     นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95
     นักเรียนมีความกรุณา ปราณี ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95
     นักเรียนมีความประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สินของตนและส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดร้อยละ
95
     ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา คิดเป็นร้อยละ 95
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน
      เป้าประสงค์
     ชุมชน องค์กรท้องถิ่นให้การสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา
      ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อการจัดการศึกษา
2. ร้อยละของการได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่น ในการจัดการศึกษา
3. ร้อยละของการให้ความร่วมมือกับท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา
โรงเรียนดีประจำตำบล
ภายใน 4 เดือนแรก ( ก.ย.- ธ.ค. 2553)
เป้าหมายโรงเรียนดี 7 ประการ
1.มีแผนกลยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เชื่อมั่นว่าทำได้จริง
2.มีเป้าหมายพัฒนานักเรียนที่ทุกคนเข้าใจถูกต้องตรงกัน
3.มีความสะอาดทุกแห่งที่เกิดจากจิตสำนึกของนักเรียน
4.มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น สวยงามด้วยร่มเงาธรรมชาติ
5. มีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน สีสันสดใส
6. มีความปลอดภัย ปลอดสารเสพติด
7. เปิดโอกาสให้ อปท.มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและพัฒนา

โรงเรียนดีประจำตำบล
ภายใน 4+4
= 8 เดือนแรก ( ม.ค.- เม.ย. 2554)
เป้าหมายโรงเรียนดี 7+7 ประการ
1. มีห้องสมุด 3 ดี มีการจัดกิจกรรมรักการอ่าน นักเรียนได้ใช้ห้องสมุดทุกคน
2. มีห้องสมุดปฏิบัติการภาษา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ได้ใช้งานอย่างคุ้มค่า
3. มีศูนย์การเรียนรู้งานอาชีพที่ครบวงจร สร้างอาชีพ หารายได้ระหว่างเรียน
4. เป็นศูนย์กีฬาชุมชนครบวงจร มีสนามกีฬา มีกิจกรรมและการดูแลรักษา
5. มีห้องสุขานักเรียนที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
6. ครูใช้แหล่งเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการสอน
7. ผู้บริหารเป็นที่ยอมรับในการเป็นนักพัฒนาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง

โรงเรียนดีประจำตำบล
ภายใน 4+4+4
= 12 เดือนแรก ( พ.ค. - ส.ค. 2554)
เป้าหมายโรงเรียนดี 7 ประการ
1. มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ( ชื่อเสียงดี )
2. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเดิม / > ค่าเฉลี่ย สพฐ. (ใฝ่รู้)
3. อ่านคล่อง เขียนคล่องนับแต่ชั้นป.2 ขึ้นไป (ใฝ่เรียน)
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต (ใฝ่ดี)
5. มีวินัย ยิ้มใหว้ทักทายกัน (มีความเป็นไทย)
6. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี (สุขภาพดี)
7. ใช้  ICT  ได้ รักงานอาชีพ (รักงานอาชีพ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น