แนะนำตัวเอง

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนะนำโรงเรียนบ้านนาฮำ

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนบ้านนาฮำ

โรงเรียนบ้านนาฮำตั้งอยู่บ้านนาฮำพัฒนา หมู่ที่17 ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่  จังหวัดหนองคาย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2503 เดิมใช้ศาลาวัดศรีอุดมพรเป็นสถานที่เรียน จัดตั้งด้วยเงินงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ธิการ มีนักเรียนจำนวน 60 คน และทำการสอนตั้งแต่ ป.1 – ป.4
มีนายคำเปลื้อง นุราช เป็นครูใหญ่
วิสัยทัศน์
            เป็นสถานศึกษาที่เน้นการศึกษาให้เป็นเลิศ ประเสริฐทางด้านคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี ชุมชนร่วมประสาน บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ
1)           ดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาให้ได้มาตรฐาน
2)           สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
3)           ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรมจริยธรรม รู้จักตนเอง มีทัศนคติและกระบวนการคิดวิเคราะห์
ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ
4)           ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
เขตบริการของโรงเรียนบ้านนาฮำ
      บ้านนาฮำใหม่       ต.เฝ้าไร่   อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านนาฮำเก่า        ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านพรมงคล       ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านวังชมพู         ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านนาฮำพัฒนา    ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านทรัพย์เจริญ    ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านเกษตรเจริญ    ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
      บ้านเจริญศรี        ต.เฝ้าไร่    อ.เฝ้าไร่  จ.หนองคาย
     
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร
     
โรงเรียนมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรเพิ่มเติม

ตัวชี้วัด
1.            โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา
2.            โรงเรียนมีหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบ
3.            โรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่น
4.            หลักสูตรมีองค์ประกอบของหลักสูตรครบถ้วน (ส่วนนำ ประกอบด้วย ความนำ, วิสัยทัศน์โรงเรียน, สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน, คุณลักษณะอันพึงประสงค์, โครงสร้างหลักสูตร, คำอธิบายรายวิชา, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, เกณฑ์การจบการศึกษา)
5.            หลักสูตรสถานศึกษาเกิดจากความร่วมมือด้านการจัดทำแผนพัฒนาของครู ผู้ปกครอง นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง
6.            หลักสูตรสถานศึกษามีการนำและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมในการจัดการศึกษา
7.            ครูสามารถจัดทำหลักสูตรตามกลุ่มสาระที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา โดยเน้นกระบวนการคิด การแก้ปัญหา
8.            ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นทั้งความรู้ กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
9.            ครูนำสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนสู่มาตรฐานการศึกษา
      เป้าประสงค์
     โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีภูมิทัศน์งามเด่นเป็นที่ประทับใจ
       ตัวชี้วัด
1. โรงเรียนมีการสร้าง พัฒนาและปรับปรุงรั้วโรงเรียน
2. โรงเรียนมีการสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในโรงเรียน
3. โรงเรียนมีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน
4. โรงเรียนมีการสร้างโรงอาหารที่ได้มาตรฐาน
5. โรงเรียนมีการสร้าง พัฒนาและปรับปรุงสนามเด็กเล่น
6. โรงเรียนมีการสร้าง พัฒนาและปรับปรุงห้องน้ำห้องส้วม
7. โรงเรียนมีโรงยิมส์
8. โรงเรียนมีการสร้างอาคารเรียน
9. โรงเรียนมีการสร้างอาคารประกอบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนักเรียนทั้งระบบ
      เป้าประสงค์
     ผู้เรียนมีความรู้ที่จำเป็นตามหลักสูตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนักเรียนทั้งระบบ
      ตัวชี้วัด
     นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด และมีผลสัมฤทธิ์  ทางการเรียนสูงขึ้นทุกปีการศึกษา
     นักเรียนมีวินัย ความรับผิดชอบและปฏิบัติตนตามหลักธรรม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 95
     นักเรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95
     นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95
     นักเรียนมีความกรุณา ปราณี ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95
     นักเรียนมีความประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สินของตนและส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดร้อยละ
95
     ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา คิดเป็นร้อยละ 95
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน
      เป้าประสงค์
     ชุมชน องค์กรท้องถิ่นให้การสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา
      ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อการจัดการศึกษา
2. ร้อยละของการได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่น ในการจัดการศึกษา
3. ร้อยละของการให้ความร่วมมือกับท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา
โรงเรียนดีประจำตำบล
ภายใน 4 เดือนแรก ( ก.ย.- ธ.ค. 2553)
เป้าหมายโรงเรียนดี 7 ประการ
1.มีแผนกลยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เชื่อมั่นว่าทำได้จริง
2.มีเป้าหมายพัฒนานักเรียนที่ทุกคนเข้าใจถูกต้องตรงกัน
3.มีความสะอาดทุกแห่งที่เกิดจากจิตสำนึกของนักเรียน
4.มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น สวยงามด้วยร่มเงาธรรมชาติ
5. มีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน สีสันสดใส
6. มีความปลอดภัย ปลอดสารเสพติด
7. เปิดโอกาสให้ อปท.มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและพัฒนา

โรงเรียนดีประจำตำบล
ภายใน 4+4
= 8 เดือนแรก ( ม.ค.- เม.ย. 2554)
เป้าหมายโรงเรียนดี 7+7 ประการ
1. มีห้องสมุด 3 ดี มีการจัดกิจกรรมรักการอ่าน นักเรียนได้ใช้ห้องสมุดทุกคน
2. มีห้องสมุดปฏิบัติการภาษา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ได้ใช้งานอย่างคุ้มค่า
3. มีศูนย์การเรียนรู้งานอาชีพที่ครบวงจร สร้างอาชีพ หารายได้ระหว่างเรียน
4. เป็นศูนย์กีฬาชุมชนครบวงจร มีสนามกีฬา มีกิจกรรมและการดูแลรักษา
5. มีห้องสุขานักเรียนที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
6. ครูใช้แหล่งเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการสอน
7. ผู้บริหารเป็นที่ยอมรับในการเป็นนักพัฒนาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง

โรงเรียนดีประจำตำบล
ภายใน 4+4+4
= 12 เดือนแรก ( พ.ค. - ส.ค. 2554)
เป้าหมายโรงเรียนดี 7 ประการ
1. มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ( ชื่อเสียงดี )
2. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเดิม / > ค่าเฉลี่ย สพฐ. (ใฝ่รู้)
3. อ่านคล่อง เขียนคล่องนับแต่ชั้นป.2 ขึ้นไป (ใฝ่เรียน)
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต (ใฝ่ดี)
5. มีวินัย ยิ้มใหว้ทักทายกัน (มีความเป็นไทย)
6. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี (สุขภาพดี)
7. ใช้  ICT  ได้ รักงานอาชีพ (รักงานอาชีพ)

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มาประดิษฐ์ดอกมะลิวันแม่กันเถอะ

การประดิษฐ์ดอกไม้ทั้งดอกไม้แห้งและดอกไม้สดถือเป็นการฝึกให้ผู้กระทำมีจิตใจที่เป็นสมาธิ เพราะในขณะที่ประดิษฐ์อยู่นั้นจิตใจจะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ จนลืมความทุกข์ และช่วยลดปัญหาความเครียดลงไปได้ . . และเเนื่องในวันแม่ที่จะมาถึงนี้ ลองมาประดิษฐ์ดอกมะลิผ้าไหมสัญลักษณ์วันแม่มอบให้ “แม่” ซึ่งถือเป็นงานอดิเรกประดิษฐ์ของไทยๆ ที่จะทำให้เกิดความสุขใจในขณะที่ทำเพราะลูกๆ ได้แสดงความกตัญญูต่อคุณแม่ สุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ .. ถ้างั้นเราไปลงมือประดิษฐ์ดอกมะลิให้แม่กันเลยค่ะ
  อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ดอกมะลิวันแม่ ประกอบไปด้วย          - ผ้าไหมเนื้อละเอียดสีขาว, ผ้าไหมเนื้อละเอียดสีเขียวอ่อน, ลวดชนิดอ่อนสีขาว และสีเขียว
          - ผงสีสีเหลือง และเขียว กระดาษสาสีเขียวอ่อน กระดาษแข็ง
          - สำลี กาวลาแท๊กซ์ เข็มกลัด
          - กรรไกร พู่กัน หัวแร้ง
          – น้ำสะอาด จาน หรือถาดสะอาด ดินสอ
          - ฟองน้ำทาปิดด้วยผ้าไหมสีขาวทำเป็นเบาะรองขณะกดหัวแร้ง

 เมื่ออุปกรณ์พร้อมเริ่มลงมือทำดอกมะลิกันได้เลยก่อนอื่นต้องเตรียมกลีบดอกไม้มะลิเป็นขั้นตอนแรก
    
          1. กลีบดอกมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ให้นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นแบบ มีกลีบทั้งหมด 7 กลีบ เมื่อได้แบบทั้ง 3 ขนาดแล้ว นำแต่ละแบบไปทาบบนผ้าไหมด้วยการพับผ้าไหมหลายๆ ทบแล้ววางแบบลงไป แล้วใช้กรรไกรตัด ใช้กรรไกรตัดให้ได้ขนาดและรูปทรงเช่นเดียวกับแบบ  
          2. เมื่อได้กลีบมะลิทั้ง 3 ขนาดแล้วให้นำไปย้อม โดยใช้ผงสีสีเหลืองผสมกับน้ำจนได้สีที่ต้องการ แล้วนำกลีบดอกผ้าไหมสีขาวชุดน้ำสะอาด นำไปวางบนจาน ใช้พู่กันตกแต่งกลีบดอกไม้ด้วยสีเหลืองให้พอมีสีออกนวลๆ นำไปผึ่งแดดจนแห้ง
          3. จากนั้นนำกลีบดอกขนาดกลาง 2 กลีบ มาประกบคู่แล้วทากาวเชื่อมติดกัน เพื่อเพิ่มความหนาของกลีบดอก แล้วจึงนำกลีบดอกขนาดใหญ่มาจับคู่ทากาวเช่นเดียวกัน วางทิ้งไว้จนแห้ง นำหัวแร้งมากดที่ปลายกลีบ โดยวางกลีบไว้บนฟองน้ำนุ่มแล้วค่อยๆ ใช้หัวแร้งกดที่ปลายกลีบแต่ละกลีบ จนปลายกลีบงอเข้ากันสวยงาม
หลังจากเตรียมกลีบดอกเสร็จก็มาทำดอกมะลิ กันต่อ           1. ดอกมะลิที่ใช้ในการประดิษฐ์มีอยู่ 5 ขนาด คือ ดอกตูม ดอกแย้มเล็ก ดอกแย้มใหญ่ ดอกกลาง ดอกใหญ่ เพื่อการนำมาเข้าช่อด้วยกัน วิธีการทำมะลิขนาดต่างๆ เริ่มทำตั้งแต่ ดอกตูม ก่อน นำลวดสีขาวมาหักงอส่วนปลายเป็นตะขอ แล้วนำสำลีผสมกาวเล็กน้อยมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เล็ก เรียกว่า “ปั้นตุ้ม” ปั้นไปเรื่อยๆ จนได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร นำกลีบขนาดเล็กเจาะรูตรงกลางมาเข้าดอก ด้วยการทากาวที่ด้านในของดอก แล้วกดกลีบดอกให้แนบติดกับปั้นตุ้มจนเป็นทรงกรม

          2. เมื่อได้ขนาดดอกตูมแล้ว วางทิ้งไว้ ลงมือดอกแย้มเล็กด้วยการปั้นตุ้มเหมือนขั้นตอนแรกแต่เพิ่มขนาดของกลีบดอกเข้าไป เช่น ดอกแย้มเล็ก ให้ใช้กลีบขนาดเล็ก 1 กลีบ กลีบขนาดกลาง 2 กลีบ ดอกแย้มใหญ่ ให้ใช้กลีบขนาดเล็กสุด 1 กลีบ กลีบขนาดกลาง 4 กลีบ ดอกกลาง ใช้กลีบขนาดเล็ก 1 กลีบ กลีบขนาดกลาง 5 กลีบ แต่กลีบด้านดอกสุดให้ใช้หัวแร้งกดด้านนอก เพื่อให้กลีบดอกบานออกดูสวยงาม สำหรับ ดอกใหญ่ ใช้กลีบขนาดเล็ก 1 กลีบ ขนาดกลาง 4 กลีบ และขนาดใหญ่ 2 กลีบ เวลาประกบกลีบดอกซ้อนเข้าไปควรทากาวเชื่อมระหว่างกลีบดอกทุกๆ ดอกขณะซ้อนกลีบ เพื่อไม่ให้กลีบดอกแยกออกจากกัน แต่เพื่อความสวยงามและเหมือนดอกมะลิจริง กลีบดอกใหญ่กลีบหนึ่งใช้หัวแร้งกดด้านนอก เพื่อให้กลีบดอกบานออกดูสวยงาม
          3. เมื่อได้ดอกมะลิตามต้องการ 5 ขนาดแล้ว ทำการทำกลีบเลี้ยงติดที่ฐานดอกของแต่ละดอก โดยนำผ้าไหมสีเขียวตัดเป็นเส้นเล็กๆ ยาวๆ ดึงเส้นด้ายของผ้าออกด้านหนึ่งให้เป็นปลายลุ่ยพอประมาณ นำมาพันด้านล่างของกลีบดอก โดยให้ปลายที่ลุ่ยออกจากผ้าอยู่ด้านบน พันจนแน่นพอประมาณ ทากาวเชื่อมกลีบเลี้ยงให้ติดกับกลีบดอก วางพักไว้
ขั้นตอนต่อไป คือ การเตรียมใบ         
          1. ตัดกระดาษแข็งเป็น “แบบ” ของใบ ซึ่งควรมีทั้งหมด 5 ขนาด จากนั้นนำผ้าไหมสีเขียวอ่อนมาพับทบกันให้ได้ขนาดตามแบบ แล้วใช้กรรไกรตัดผ้าออกเป็นใบๆ
          2. ย้อมใบด้วยการนำใบผ้าไหมมาชุบน้ำสะอาด วางไว้บนจาน จากนั้นใช้พู่กันจุ่มสีเขียว (ผงสีเขียวผสมน้ำ) นำมาระบายที่ขอบใบโดยเว้นเส้นตรงกลางใบเพียงเล็กน้อย นำไปผึ่งแดดจนแห้ง
          3. เมื่อใบแห้งดีแล้ว นำลวดที่พันดอกกระดาษย่นสีขาวมาติดที่ตรงกลางใบ พักไว้ ทากาวบนใบด้านที่ติดลวดตลอดทั่วทั้งใบ จากนั้นนำกระดาษสามาปิดทับลงบนใบ วางทิ้งไว้จนกาวแห้ง ตัดขอบกระดาษสาให้ได้ขนาดเท่าขอบใบ แล้วจึงใช้หัวแร้งปลายแบน รีบตกแต่งให้ขึ้นเส้นใบพองาม
และขั้นตอนสุดท้าย คือการเข้าช่อดอกมะลิ           1. เมื่อได้ดอกมะลิและใบมะลิครบถ้วนแล้ว ขั้นต่อไป คือการนำดอกมะลิมาจัดเรียงเข้าช่อให้สวยงาม ราวกิ่งมะลิธรรมชาติ โดยการนำดอกมะลิดอกใหญ่มาพันก้านด้วยกระดาษสาสีเขียวอ่อน จากนั้นเติมใบที่เหมาะกับดอกเพิ่มเข้าไป พร้อมกับต่อก้านด้วยเส้นลวดอ่อนอีก 1 เส้น แล้วจึงพันกระดาษสาทับเส้นลวดต่อไปเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มความยาวให้ก้านของดอกหลัก

          2. ผู้ประดิษฐ์สามารถเติมดอกมะลิขนาดต่างๆ แทรกลงไประหว่างใบต่างๆ ตามต้องการและตามความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ โดยทั่วไปนิยมจัดดอกมะลิในแต่ละช่อตามจำนวนเลขคี่ เช่น 3 ดอก 5 ดอก เป็นต้น
          3. หลังจากประดิษฐ์ช่อดอกมะลิผ้าไหมเรียบร้อยแล้ว ผู้ประดิษฐ์สามารถออกแบบการจัดวางช่อดอกมะลิ ตามจินตนาการเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย เช่น การใส่เข็มกลัด เพื่อไปประดิษฐ์ตกแต่งเสื้อ หรือปักรวมกันไว้ในแจกัน 
          เมื่อได้ดอกมะลิที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือตัวเองแล้วก็นำไปมอบให้กับ “คุณแม่” เพื่อแสดงความกตัญญูและรู้คุณ ซึ่งก็ถือมีคุณค่าทางใจและเกิดความสุขใจแบบพอเพียง ผสมกับการทำตัวเป็น “ลูกที่ดี” และเป็น “คนดี” ของคุณพ่อคุณแม่เพียงเท่านี้ก็น่าชื่นใจแล้ว

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานประดิษฐ์เศษวัสดุ

นางพัชรัตน์  พลศรี
เกิด  วันที่  23  ธันวาคม  2512
ภูมิลำเนา  ตำบลหนองขาว  อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี
ที่อยู่ปัจจุบัน  28  ม. 1  ตำบลหนองหลวง  อำเภอเฝ้าไร่  จังหวัดหนองคาย
จบการศึกษา  ปริญญาตรี  เอกการประถมศึกษา  วิทยาลัยครูกาญจนบุรี
บรรจุรับราชการ  29  มกราคม  2539  โรงเรียนบ้านน้ำมุด   อำเภอศรีสวัสดิ์  จังหวัดกาญจนบุรี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครู คศ.2 ชำนาญการ  โรงเรียนบ้านนาฮำ  อำเภอเฝ้าไร่  จังหวัดกาญจนบุรี